บุไรฮะ รวมผลงานของนักเขียนกลุ่มปฏิปักษ์สังคม (แถมปกแจ็คเก็ตและที่คั่นหนังสือ)
รหัสสินค้า : 9786168267073
ราคา |
230.00 ฿ 255.00 ฿ (-10%) |
จำนวนที่จะซื้อ | |
ราคารวม | 230.00 ฿ |
สินค้าไม่เพียงพอ
สินค้าหมด
ISBN 978-616-8267-07-3
สำนักพิมพ์ JLit
จำนวนหน้า 272
...ดิฉันตั้งใจจะเลี้ยงดูมุตสึโกะให้เติบโตเป็นหญิงชาวนาด้วย ไม่คิดจะพึ่งพาพวกนักการเมือง นักคิด หรือศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่นทุกวันนี้ทั้งสิ้น เดี๋ยวนี้ไม่ว่าใคร แค่คิดว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรให้อยู่รอดในแต่ละวันก็เต็มกลืนแล้วไม่ใช่หรือคะ? ความจริงเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็น่าจะพูดเปิดอกตามตรง แต่นี่อะไร กลับกล่าวอ้างได้ไม่อายปาก... ดีแต่หาเรื่องเทศนาวกไปวนมา เหมือนพายเรือในอ่างอย่างไร้ความหมาย ซ้ำยังประกาศว่านั่นแหละคือวัฒนธรรม ช่างน่าเอือมระอาดีแท้...
...หลังจากสงครามสิ้นสุดลง วัฒนธรรมกลายเป็นกุญแจสำคัญที่ผู้คนพูดกันติดปาก องค์กรวัฒนธรรมในอดีตพากันแยกย้าย องค์กรวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ค่อย ๆ ก่อร่างสร้างขึ้น ในโอซาก้าก็เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากเป็นองค์กรวัฒนธรรมประเภทอัญเชิญผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐมานั่งอำนวยการ ต่อให้เกิดขึ้นสักกี่องค์กร ก็คงมีปัญญาทำได้แค่สิ่งไร้วัฒนธรรม ไม่ว่ามองทางใดก็น่ารังเกียจทั้งสิ้น...
...เราต่างกราบไหว้บูชาสิ่งไร้สาระด้วยความสมัครใจ โดยไม่ตระหนักในความไร้สาระดังกล่าว นักวิชาการผู้ดีแต่อ้างความยึดมั่นในศีลธรรมจรรยา เมื่อใดก้าวขึ้นยืนบนแท่นบรรยาย ก็มักจะชูตำราขึ้นเหนือศีรษะด้วยท่าทางเคารพนบนอบ พวกเขาคงสัมผัสได้ถึงเกียรติภูมิของตน หรือแม้กระทั่งคุณค่าแห่งตนจากการกระทำเช่นนั้น และข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้ง ว่าเราทั้งหลายก็มีพฤติกรรมอันคล้ายคลึงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ต่างกัน...
สามนักเขียน สามผลงาน แต่ดูราวกับร้อยเรียงเป็นหนึ่งเดียวกัน และเป็นที่มาของการขนานนามพวกเขาว่า ‘บุไรฮะ’ นักเขียนกลุ่มปฏิปักษ์สังคม
JLIT ภูมิใจนำเสนอผลงานจากนักเขียนสามท่าน ซึ่งทิ้งคำถามให้เราทุกคนใคร่ครวญกันใหม่ ว่าสังคมคืออะไร? และการกระทำเช่นไรคือการเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม?
งานเขียนของกลุ่มบุไร (Burai-ha) ได้ฝากผลงานอันโดดเด่น ตีแผ่เสียดสีภาพมนุษย์ผู้สิ้นหวัง ผู้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดท่ามกลางความล่มสลายของสังคมญี่ปุ่น เมื่อมนุษย์เราต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดกลัวและสิ้นหวัง ท่ามกลางสังคมที่ศีลธรรมเสื่อมถอย สิ่งที่เคยยึดเป็นสรณะ รวมถึงศรัทธาในความดีงามต่าง ๆ ถูกทำลายให้พังทลายลง มนุษย์มักถูกขับเคลื่อนให้ใช้ชีวิตไปตามแรงผลักดันของสัญชาติญาณ หาใช่มโนธรรมหรือเหตุผลไม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์